
วิธีปฎิบัติที่นักบัญชีควรทราบ เพื่อทำบัญชีอย่างถูกต้อง ตามที่กรมสรรพากรได้มีการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 24 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้การบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
- เมื่อมีการซื้อทรัพย์สินมาเพื่อการบริจาค จำเป็นต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น ๆ ซึ่งจะต้องระบุจำนวนและมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นด้วย โดยให้ถือว่ามูลค่าตามหลักฐานดังกล่าวเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
- ในกรณีที่นำทรัพย์สินที่ได้บันทึกบัญชีทรัพย์สินนั้นมาบริจาค ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือจากการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาค
ส่วนในกรณีที่นำสินค้ามาบริจาค ไม่ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตเอง หรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูลค่าต้นทุนของสินค้าดังกล่าวที่มีเอกสารหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้ เป็นมูลค่าของรายจ่ายที่บริจาคแต่มูลค่าดังกล่าวต้องไม่เกินราคาสินค้าคงเหลือยกมาตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร (4) มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่ซื้อมาเพื่อบริจาคนั้น จะต้องมีจำนวนไม่เกินราคาที่พึงซื้อได้โดยปกติ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (15)แห่งประมวลรัษฎากร
นักบัญชีจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง? นักบัญชีต้องใช้สิทธิหักรายจ่ายสองเท่า สำหรับมูลค่าการนำสินค้าหรือทรัพย์สินของบริษัทไปบริจาคตามที่ได้ระบุไว้ข้างต้น และควรแจ้งให้ผู้รับบริจาคได้ดำเนินการในระบบ e-Donation ให้มีมูลค่าตรงตามเกณฑ์นี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 24 อนุญาตให้ใช้ข้อมูลการบริจาคที่ปรากฏในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิได้ โดยที่เราไม่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการบริจาคใด ๆ อีก การบริจาคนี้ได้สิทธิหักรายจ่ายสองเท่า จึงอาจสร้างความสับสนให้กับนักบัญชี เพราะเป็นความต่างของบัญชีและภาษีที่อาจเปลี่ยนจากเดิม อย่างไรก็ตามให้นักบัญชีดำเนินการตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะถ้าหากผิดพลาด จะต้องชำระภาษีเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ซึ่งจะทำให้งานของนักบัญชียุ่งยากขึ้นไปอีก